DE

One Fri-day ตอนที่ 8 ปาฏิหารย์ 1 นาที เล่าเรื่องผ่านวิดีโอสั้น

Online session

One Fri-day ตอนที่ 8 ชวนคุยและชวนทำวิดีโอสั้น ย่อยประเด็นเป็นเรื่องราว กับเมย์ วรรณวิสาข์ อินทรครรชิต และ ขวัญ ขวัญแก้ว เกตุผล ผู้ประกอบการวิดีโอเพื่อสังคม Doc 36 หลังจากได้แลกเปลี่ยนทักษะในการสื่อสารประเด็นผ่านรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facilitation เกม-สื่อการเรียนรู้ การจดบันทึกด้วยภาพ หรือการแต่งเพลที่ผ่านมา เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่มูลนิธิใช้ในการสื่อสารประเด็นสังคม และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างคน สังคม กับประเด็นที่อยากสื่อสารออกไป และวิดีโอ-วิดีโอสั้นก็เป็นอีกหนึ่งสื่อที่มูลนิธิฯ ใช้

“วิดีโอ เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเรื่องราวและสาระของมูลนิธิฯ ย้อนไปได้ตั้งแต่ปี 2012 ที่เมย์เข้ามาในทีม และได้เริ่มโครงการ Dream Thailand ที่เราเริ่มมองหาสื่อที่ทรงพลัง และดึงความสนใจของผู้เข้าร่วมจำนวนมากให้ได้ เราได้เห็นการสื่อสารผ่านวิดีโอมาเหมือนกัน แต่เมย์ มีวิธีคิด กระบวนการคิดที่ไปผูกโยงให้เข้าถึงอารมณ์ของผู้คน เมื่อเราทำวิดีโอโครงการภาพอนาคตประเทศไทย เราได้เห็นว่าวิดีโอสามารถเข้าไปถึงจิตใจ และอารมณ์ลึกๆ ของคนได้จริงๆ  การใช้วิดีโอสารคดีในโครงการภาพอนาคตประเทศไทย ทำให้เห็นว่าการสื่อสารผ่านวิดีโอทำให้การสื่อสารประเด็นทางสังคมเข้าไปถึงจิตใจ อารมณ์ และมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ทั่วโลกเห็นว่าการใช้วิดีโอที่เข้าถึงอารมณ์ของคนจะทำให้คนมีส่วนร่วมและตรึงใจของคนไว้ได้ นำไปสู่การพูดคุยต่อไปได้ เป็นที่มาของตำแหน่งทีมสื่อสารองค์กร (Communication Officer) ของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน เลยก็ว่าได้”  พี่แมรี่เล่า

Dream Thailand Chanel

Online session

Doc 36 ทำไมต้องเป็นวิดีโอเพื่อสังคม?

“ขวัญเริ่มการทำงานด้วยการทำวิดีโอสารคดีสื่อสารประเด็นสังคม และได้เห็นการนำวิดีโอเหล่านั้นไปขับเคลื่อนต่อและค่อยๆ ขยายกลุ่มออกไปเรื่อยๆ ทำให้เราได้เห็นงานที่เราทำ ทำงานของมันต่อไป” ขวัญเล่า

“ในกระบวนการทำวิดีโอสารคดีเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ทำให้เราได้เข้าใจมุมมองของคนอื่นๆ หรือมุมมองของสังคม ขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจตัวเองด้วย และเข้าใจมุมมองของคนอื่นด้วย” เมย์เล่าถึงความประสบการณ์จากการทำวิดีโอโครงการ Dream Thailand

At this point you will find an external content that complements the content. You can display it with one click.

FNF เวทีปฏิรูปภาคใต้ edit dreamthailand

One-Minute Miracle

ถอดรหัสวิดีโอที่ชอบ สู่การสร้างวิดีโอที่ใช่ - วิดีโอที่เราชอบจะมีลักษณะบางอย่างที่เชื้อเชิญให้คนสนใจ เช่น ประเด็นที่สื่อสาร ภาพที่ใช้ในการสื่อสารสวยงาม การเล่าเรื่องที่ชัดเจน เป็นต้น

Golden Circle ทำไม? ยังไง? แล้วได้อะไร? - คำถามหลักที่ใช้ในการวางกรอบความคิดในการคิดและผลิตงาน นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่พาเจาะลึกลงไปอย่าง Storytelling Canvas ที่ช่วยให้เราเห็นภาพ และเป้าหมายในการทำวิดีโอของเราชัดเจนยิ่งขึ้น

กระบวนการคิดงาน - ย่อยเรื่องยากให้ง่าย สื่อสารประเด็นลึกให้ถึงคน - ก่อนการถ่ายทำต้องมีการเตรียมข้อมูล เตรียมประเด็นที่จะนำเสนอให้ได้หลากหลายมุมมองมากที่สุด จากนั้นมองหาแนวทางในการเล่าเรื่องออกมา ตามด้วยการทำ script/story board เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับทีม

เทคนิคและทิปส์

ออกแบบวิดีโอ ผ่านมุมกล้องที่หลากหลาย – การถ่ายทำวิดีโอด้วยมุมกล้องต่างๆ ส่งความรู้สึกที่ต่างกันให้กับผู้ชมวิดีโอ การเลือกมุม เลือกชอต ส่งผลกับสิ่งที่เราจะสื่อสารออกไป

สตอรี่บอร์ด ให้ภาพช่วยอีกครั้ง – สตอรี่บอร์ดช่วยให้ทั้งทีมผลิตและเจ้าของโจทย์มองเห็นภาพการถ่ายทำ มุมที่จะใช้ และแนวทางการเล่าเรืองไปในทิศทางเดียวกันและปรับปรุง เสนอแนะแนวทางได้ง่าย

อาจใช้มือถือ และลงแอพพลิเคชั่นในการถ่ายทำและตัดต่อในมือถือได้ นอกจากนี้อาจใช้อุปกรณ์เสริม อย่าง ไมโครโฟน เลนส์เสริม ก็เพียงพอในการทำวิดีโอสั้นง่ายๆ ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ต้องคิดเมื่อวางแผน เช่น เตรียมตัวสัมภาษณ์ การเลือกช่องทางการนำเสนอ เพื่อกำหนดขนาดของเฟรมภาพ (กว้าง-ยาว) เป็นต้น

One Minute VDO – Care

[Singing Stories – Care ทุกหัวใจจะถูกดูแล]

หลังจากเปิดเพลง Care – ทุกหัวใจจะถูกดูแล เมย์และขวัญให้คนที่มาร่วมได้ลองเล่าภาพที่เห็นแล้วค่อยๆ ขยายภาพออกไปเพื่อเล่าเรื่องและถ่ายทำวิดีโอ ผ่าน 3 ขั้นตอน คือ 1) ภาพแว๊บแรกหลังจากฟังเพลงจบ 2) ประโยคที่เกี่ยวกับเพลงนี้ 1 ประโยค และ 3) เห็นภาพอะไรบ้างจากประโยคความคิดเมื่อครู่ เล่าสัก 5 ภาพ

ติดตามกิจกรรมของเราได้ทางเพจ FNF Thailand หรือ YouTube Channel FriedrichNaumann TH