DE

One Fri-day ตอนที่ 4 เปลี่ยนความคิดให้เป็นภาพ...ร้อยเรื่องราวให้คนเข้าใจ

Online session

One Fri-day ตอนที่ 4 เปลี่ยนความคิดให้เป็นภาพ ร้อยเรื่องราวให้คนเข้าใจ วันที่ 24 เมษายน 2563 ชวน จอย และหวัน มาคุยถึงประสบการณ์การแปลงความคิดให้เป็นภาพ กรอบคิด และความหมายของ Visual Note Taking, Graphic Recording และ Infographic

จอย สุขุมาล สุริย์จามร กราฟฟิคเรคคอร์ดเดอร์ จากกลุ่ม IdeaGraphy และอาสาสมัครที่ร่วมงานกับมูลนิธิฟรีดริช เนามันมาร่วม 10 ปี มาเล่าประสบการณ์การเข้าร่วมประชุมระดมความเห็น แปลงความคิดและเนื้อหาจากที่ประชุมให้ออกมาเป็นภาพ และ หวัน พรสวรรค์ ผลิตาภรณ์ มือบันทึกภาพประจำมูลนิธิฯ มาร่วมเล่าการนำเนื้อหามาแปลงเป็นภาพได้ จอยเล่าให้ฟังต่อถึงคำต่างๆ ที่ใช้เรียกการแปลงข้อมูลออกมาเป็นภาพ  ได้แก่ 1) Visual note taking หรือ Sketch note เป็นการคิดและแปลงความคิดเป็นภาพแบบเร็วๆ เหมือนกับการทำ mind-mapping 2) Graphic Recording มีการวางแผนและเรียงลำดับการนำเสนอข้อมูลก่อน-หลังมากขึ้น ต้องมีการสื่อสารกับทีมผู้จัดว่ามีคำสำคัญหรือเนื้อหาหลักที่อยากนำเสนอคืออะไร เพื่อวางแผนถูกต้อง และ 3) Infographic การนำเสนอเนื้อหาจะต้องผ่านกระบวนการคิด เน้นย้ำคำสำคัญ มานำเสนอให้เราเห็นภาพ

Online session

จอยเล่าว่า “เราอาจจะเริ่มจากการทำ visual note taking และใช้สัญลักษณ์เน้นให้เห็นถึงข้อมูลที่สำคัญ หรือการเพิ่มตัวละครพร้อมกับคำสำคัญเข้าไปด้วย การจดบันทึกในลักษณะนี้มีเป้าหมายในการดึงเนื้อหาสำคัญออกมาให้โดดเด่น และดึงให้คนสนใจเข้าไปอ่านต่อ”

“สำหรับนักจดบันทึก หรือ Graphic Note Taker อาจจะมีการนำเสนอต่างกันไป แต่ต้องมีองค์ประกอบสำคัญได้ 3 ส่วน คือ 1) คำสำคัญ จากนั้นดึงคำนั้นออกมาเป็นภาพ แล้วค่อยเพิ่มเติม 2) ความสวยงามและ 3) การเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าไป ส่วนรูปแบบการนำเสนอก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละงาน” จอยเสริม

“กำหนดการก็เป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการทำงานและจดบันทึก เพราะเมื่อเราเห็นภาพกว้างและความเชื่อมโยง จะทำให้เรานำเสนอเนื้อหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในการวางแผนจดบันทึกเราให้ความสำคัญกับหัวข้อใหญ่ ข้อมูล และภาพสรุปเป็นเหมือนเส้นทางที่ให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นร่วมกัน” หวันเล่าเสริม

Online session

นอกจากนี้จอยยังแนะนำวิธีการจดบันทึกในสถานการณ์ที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไป เช่น การจดบันทึกในเวทีระดมความคิดเห็น การจดบันทึกในการประชุมวางแผนงาน ก็จะมีลักษณะและเทคนิคที่ต่างกันไป จอยได้มอบหมายกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมได้ลองแปลงความคิดเป็นภาพ และนำภาพเหล่านั้นมาร้อยเรียง แบบ visual note taking พร้อมกับแลกเปลี่ยนผลงานกัน

ในช่วงท้ายจอยและหวันได้ร่วมตอบคำถามจากทางบ้าน เช่น ข้อควรระวัง โปรแกรมสำหรับการวาดและฝึกฝน รวมถึงลักษณะการทำงานของ Visual Note taker และ Graphic recorder

“จริงๆ การจดบันทึกเป็นภาพ มีให้เห็นในงานประชุมใหญ่ๆ ในยุโรปมาสักพักแล้ว ส่วนในไทยเราโชคดีที่ได้เริ่มบันทึกเป็นภาพกับมูลนิธิฯ มาได้ 4-5 ปีแล้ว ในตอนนี้มีคนหันมาบันทึกเป็นภาพกันกว้างขวางยิ่งขึ้น” จอยเล่า

“ในยุโรปมีการจดบันทึกเป็นภาพกันมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว อย่างที่จอยเล่า ย้อนไปประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว มีงานประชุมอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ และได้มีการบันทึกแบบ Graphic Recording ที่จดบันทึกข้อมูลอย่างสวยงามและครบถ้วน เลยคิดถึงน้องๆ ภาคีที่เคยร่วมงานกัน ก็มาชวนกันมาบันทึกในงานสัมมนาใหญ่ ในตอนนั้น แม้จะเป็นการแบ่งต่างคนต่างวาด แต่เมื่อมารวมผลงานในห้องประชุมใหญ่ ก็ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลของห้องย่อยและจากวงใหญ่ ใกล้เคียงกับที่เห็นในงานประชุมที่สิงคโปร์” พี่แมรี่กล่าวเสริม

Online session

One Fri-day ตอนที่ 4 เปลี่ยนความคิดให้เป็นภาพ ร้อยเรื่องราวให้คนเข้าใจ มีผู้สนใจเข้าร่วมเกือบ 30 คน ที่เข้ามาร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยน เสริมทักษะ จุดประกายคิดสำหรับกิจกรรมอื่นๆ

เราของดกิจกรรม One Fri-day ใน วันศุกร์ ที่ 1 พฤษภาคม 2563 เนื่องในวันหยุดวันแรงงาน พบกันอีกครั้งกับ One Fri-day ตอนที่ 5 ในวันที่ 8 พฤษภาคม เวลา 14.00 น. กว่าจะมาเป็นเกม ออกแบบเกมกับคุณรัตติกร วุฒิกร ติดตามกิจกรรมของเราได้ทางเพจ FNF Thailand หรือ YouTube Channel FriedrichNaumann TH